วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ข้อดี...ข้อเสีย ของคอนโดมิเนียม

ข้อดี...ข้อเสีย ของคอนโดมิเนียม
เมื่อพูดถึงคอนโด คนที่นิยมบ้านแบบมีพื้นที่โล่งให้เดินเหิน หรือนั่งกินลมชมวิวกับต้นไม้ดอกไม้ในบริเวณบ้านแบบมีพื้นที่ แน่นอนย่อมไม่มีความคิดที่จะซื้อคอนโดไว้ในหัวสมองเพื่ออยู่อาศัยไปตลอดชีวิตแน่นอน แต่หากใครก็ตามที่รักที่จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการจราจร สะดวกสบาย อาหารการกิน ก็มีมากมาย รวมถึง อยู่ใกล้สถานที่ราชการ สถานพยาบาล หรืออื่น ๆ คอนโดถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณอย่างแน่นอน แต่คอนโดก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยเหมือนกัน ซึ่ง คอนโดหรืออาคารชุดนั้นจะแบ่งเป็นห้องๆ มีหลายชั้น สร้างขึ้นมาสำหรับขายห้องจึงติดกันในแต่ละชั้นมีด้วยกันหลายห้อง คอนโดมีหลายชั้น หลายตำแหน่งทำให้สามารถเห็นวิวต่างกัน ทิศทางลม หรือแสงแดดก็ต่างกัน ทำให้คอนโดมีหลายราคา ขนาดก็ต่างกัน จำนวนห้องนอน ห้องน้ำก็แตกต่างกันไป

ข้อดี
คอนโดมิเนียม จะได้ทำเลที่การคมนาคมสะดวกกว่าบ้านเดี่ยวหรือทาวเฮ้าส์ ทำให้ประหยัดเวลาในการเดินทาง ได้มีเวลาเหลืออยู่กับครอบครัวมากขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายค่าน้ำมัน ค่า บำรุงรักษา ค่าที่จอดรถ
คอนโดมิเนียมมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่าได้แก่ สระว่ายน้ำ สวนพักผ่อน ห้องออกกำลังกาย ห้องซาวน่า
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ถูกขโมยน้อยกว่าเนี่ยงจากมีระบบรักษาความปลอดภัยดี ยามรักษาความปลอดภัยเดินตรวจตรา 24 ชั่วโมง มีกล้องวงจรปิดคอยบันทึกการเข้าออกทั้งใน lobby และในลิฟท์ การเข้าออกอาคารต้องแลกบัตรและใช้ Key card ทำให้ยากต่อการบุกรุก
ข้อเสีย
คอนโดมีปัญหาอึดอัดและที่จอดรถน้อย
คอนโดมีแต่เสียงจราจรเป่านกหวีดปริ๊ดๆ ได้แต่กลิ่นท่อไอเสียและท่อระบายน้ำ
ต้องเสียค่าส่วนกลางในการดูแลความสะอาด ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
หากเกิดไฟ้ใหม้มีความเสียหายสูงดังนั้นคอนโดต้องมีระบบป้องกันอัคคีภัย มีการซ้อมหนีไฟอยู่เป็นประจำทุกปี
ไม่สามารถเลี้ยงสัตว์เลี้ยง หมา และแมวได้ คอนโดมักออกกฎห้ามเลี้ยง

คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : ลงประกาศขายคอนโด

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.land-house.info/

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

มาทำความรู้จัก สบู่ และ วิธีการทำสบู่ใช้เองที่บ้าน

สบู่ เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดร่างกายที่ได้จากปฏิกิริยาของด่างกับไขมันจากพืชหรือสัตว์ ปัจจุบัน สบู่มีการใช้ส่วนผสมชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ให้มีลักษณะพิเศษ ตรงตามความต้องการใช้งานที่หลากหลายขึ้น เช่น ทำให้ผิวชุ่มชื้นขึ้น ผิวขาวใส ทำให้ผิวนุ่ม ลื่น และ สะอาด

“สบู่” จากคำข้างต้น หมายถึง ผลิตภัณฑ์ของสบู่ที่ทำให้เป็นก้อนหรือเป็นของเหลว พร้อมด้วยส่วนผสมต่างๆ เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการใช้ทำความสะอาด ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์สบู่ที่เราใช้กันในทุกวันนี้ ส่วน “สบู่ (soap)” อีกคำที่พบในสมการเคมีจะหมายถึง สารตั้งต้นสำหรับการผลิตสบู่ นั่นก็คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาระหว่างด่างเข้มข้นกับไขมันพืชหรือสัตว์ ร่วมด้วยกับกลีเซอรีน (Glycerine)/กลีเซอรอล (Glycerol) ซึ่งสารทั้งสองเป็นสารตั้งต้นในการทำสบู่เหมือนกัน แต่จะให้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเรียกว่า “เกล็ดสบู่”

รู้ไหมว่าสบู่ที่เราๆใช้กันโดยทั่วไปนี้คือ Detergen หรือสารซักฟอก เพราะถ้าเป็นสบู่ธรรมชาติที่แท้จริงนั้นจะต้องเกิดจากปฏิกริยาที่เรียกว่า Saponification ระหว่างด่างกับไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ ผลลัพท์ของปฎิกริยานี้จะได้สบู่และกรีเซอรีน ซึ่งมีคุณสมบัติดีต่อผิว แต่ด้วยเหตุผลในทางการค้าผู้ผลิตมักจะแยกเอากรีเซอรีนออกไป เราจึงได้ใช้แต่กากสบู่ แต่ถ้าคุณต้องการทำความสะอาดผิวไปพร้อมๆกับการถนอมและบำรุงผิวละก็ ลองนี่เลย สบู่ก้อนใสสมุนไพร สูตร มะเฟือง น้ำผึ้ง ขมิ้น วิธีทำก็ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาทำไม่ถึงครึ่งชั่วโมง สบู่สูตรนี้มีสรรพคุณเด่นเหนือสบู่ที่คุณๆใช้อยู่คือ จะช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่าได้ดี เมื่อใช้เป็นประจำจะช่วยบำรุงผิวให้นวลเนียน กระชับรูขุมขน และลดสิวเสี้ยน ถ้าเราทำเอง ต้นทุน ต่อนำหนักสบู่ 1 กิโลกรัม ไม่เกิน 250 บาท สบู่สมุนไพรที่ทำขายกันทั่วๆ ไปไม่รู้ว่าเขาใส่อะไรลงไปบ้าง ดีจริงเหมือนโฆษณาหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่เคยลองคำนวณราคาสบู่สมุนไพรที่เขาขายกันทั่วๆไปเฉลี่ยแล้วราคาประมาณ 1 บาท ต่อน้ำหนักสบู่ 1 กรัม หรือ กิโลกรัมละ 1,000 บาท ที่แนะนำนี่ไม่ได้ให้ทำขายนะ เพราะ พวก สบู่ผิวขาว ถ้าจะทำขายก็จะต้องไปทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม ต้องมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ต้องโฆษณา ต้องทำการตลาดและอะไรต่อมิอะไรอีกสารพัด ต้องการให้ทำของดีราคาถูกไว้ใช้เองดีกว่า

มาดูส่วนประกอบของสบู่ มีดังนี้ ไขมันพืช/ไขมันสัตว์ โซเดียมไฮดรอกไซด์/โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ = เกล็ดสบู่ (soap) กลีเซอรอล/กลีเซอรีน แอลกอฮอล์ น้ำ

ชนิดของสบู่
1. สบู่ก้อนขุ่น
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่รู้จัก และใช้กันมานานจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะเป็นก้อนแข็งสีขาวขุ่นหรือมีสีต่างๆ ตามสีของสารเติมแต่ง เช่น สีเขียว สีชมพู สีม่วง เป็นต้น สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่ผลิตได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต ที่ให้คุณสมบัติเป็นก้อนแข็ง ขาวขุ่น ให้ฟองมาก

2. สบู่ก้อนใส
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีลักษณะก้อนใสหรือค่อนข้างใสตามสัดส่วนของกลีเซอรีนที่ผสม ก้อนสบู่จะมีลักษณะอ่อนกว่าสบู่ก้อนขุ่น และสามารถทำให้เกิดสีใสต่างๆตามสารให้สีที่เติมผสม สบู่ชนิดนี้จะให้ฟองค่อนข้างน้อยกว่าสบู่ก้อนขุ่น เนื่องจากมีส่วนผสมของกลีเซอรีนเป็นส่วนใหญ่ สารตั้งต้นที่ใช้อาจเป็นกลีเซอรีนเหลวหรือกลีเซอรีนก้อน (กลีเซอรีนเหลว เอทิลแอลกอฮอล์) ร่วมด้วยกับสารเติมแต่งชนิดต่างๆ

3. สบู่เหลว
เป็นผลิตภัณฑ์สบู่ที่มีน้ำเป็นส่วนผสมทำให้เนื้อสบู่เหลว สีสีสันต่างๆตามสารเติมแต่ง สบู่ชนิดนี้ใช้สารตั้งต้นจากเกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากปฏิกิริยาข้างต้นเหมือนชนิดสบู่ก้อนขุ่น แต่ต่างกันที่จะใช้ด่างเข้มข้นโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แทนโซเดียมไฮดรอกไซด์ เพราะจะให้เนื้อสบู่อ่อนตัวดีกว่า

ลักษณะของสบู่ที่ดี
1. มีความสามารถทำความสะอาดได้ดี
2. มีฟองในระดับที่เหมาะสม
3. มีความเป็นด่างน้อยในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหรือทำลายชั้นไขมันของผิว
4. สบู่ก้อนไม่มีเนื้อเหลว แตกหักง่าย
5. ไม่มีกลิ่นหืน มีกลิ่นหอมน่าใช้ และมีคุณสมบัติเฉพาะในบางกรณี เช่น สบู่ฆ่าเชื้อ

สารเคมีที่ใช้ทำสบู่
1. ไขมัน/น้ำมัน เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตสารตั้งต้นสบู่ ไขมันหรือน้ำมันที่ใช้อาจได้จากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม เป็นต้น ส่วนไขมันที่ได้จากสัตว์ เช่น ไขมันโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น คุณภาพของน้ำมันที่ได้จากพืช และสัตว์จะมีผลต่อคุณภาพของสบู่ เกล็ดสบู่ (soap)ที่ได้จากน้ำมันพืชจะให้ลักษณะขาวเนียน และกลีเซอรีนจะค่อนข้างใสกว่าน้ำมันจากสัตว์ นอกจานั้น เกล็ดสบู่ (soap) ที่ได้จากน้ำมันจากพืชจะมีกลิ่นหืนน้อยกว่าน้ำมันจากสัตว์ อีกทั้งน้ำมันจากพืชยังเป็นวัตถุดิบที่หาง่าย และราคาถูกกว่า

2. ด่างเข้มข้น เป็นสารเคมีสำคัญที่ใช้ทำปฏิกิริยากับไขมันธรรมชาติ ด่างเข้มข้นที่นิยมใช้ คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะได้เนื้อสบู่สีขาวทึบ เนื้อก้อนแข็ง ให้ฟองมาก นิยมนำมาทำสบู่ก้อนทึบ และอีกชนิดหนึ่ง คือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งจะได้สบู่ในลักษณะเดียวกัน แต่เนื้อสบู่มีความอ่อนตัวได้ดีกว่า นิยมนำมาทำสบู่เหลว

3. สารเติมแต่ง เป็นสารเคมีสำหรับปรับปรุงคุณสมบัติของสบู่ เช่น สี น้ำหอม สมุนไพร สารป้องกันความชื้น สารลดความเป็นด่าง สารลดแรงตึงผิว สารทำให้ฟองคงตัว สารเพิ่มความแข็ง สารป้องกันการออกซิเดชัน สารบำรุงผิว สารฆ่าเชื้อ เป็นต้น เป็นสารเติมแต่งที่นิยมผสมในสบู่เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะแก่การใช้ประโยชน์ในแต่ละอย่าง

วิธีการทำสบู่
การทำสบู่ในระดับอุตสาหกรรม และระดับครัวเรือน ในกรรมวิธีหลักๆจะไม่แตกต่างกันมาก แต่ในทางอุตสาหกรรมจะมีกระบวนการที่ละเอียด และซับซ้อนกว่า โดยในภาคอุตสาหกรรมอาจเตรียมสบู่สารตั้งต้นเองหรือสั่งซื้อจากอีกแหล่งที่ทำหน้าที่รับผลิต ทั้งที่เป็นเกล็ดสบู่ (soap) เพื่อผลิตสบู่ก้อนขุ่น หรือสบู่เหลว และกลีเซอรีน เพื่อผลิตสบู่ก้อนใส
1. การผลิตสบู่ในภาคอุตสาหกรรม
สำหรับภาคครัวเรือนสามารถผลิตได้ทั้งสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว โดยนิยมสั่งซื้อเกล็ดสบู่ (soap) และกลีเซอรีน จากแหล่งจำหน่ายโดยไม่ต้องเตรียมเอง

ขั้นตอนการผลิตสบู่ภาคอุตสาหกรรม
– การฟอกสีน้ำมันวัตถุดิบเพื่อให้น้ำมันมีสีใส และไม่มีกลิ่นหืน
– การต้มสบู่ เพื่อให้ได้เกล็ดสบู่ และกลีเซอรีน ด้วยการเติมด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
– ขั้นตอนการแยก โดยการแยกเกล็ดสบู่ และกลีเซอรีนออกจากกัน
– ขั้นตอนการฟิต เป็นการนำเอาเกล็ดสบู่เข้าหม้อฟิตเพื่อกำจัดเกลือที่ตกค้างในเกล็ดสบู่
– การระเหยน้ำ ด้วยการเป่าแห้งเกล็ดสบู่เหลวเพื่อกำจัดน้ำที่ผสมอยู่ และเพื่อให้เกล็ดสบู่แห้งจับตัวเป็นก้อน เรียกว่า สบู่ดิบ
– นำสบู่ดิบมาผสมกับส่วนผสมต่างๆ ภายใต้ความร้อนจนสารทั้งหมดละลายรวมตัวกัน และผ่านเข้าเครื่องอัดความหนาแน่นเพื่อให้สบู่เป็นก้อนที่คงตัว และสม่ำเสมอ
– เมื่อสบู่ที่ออกจากเครื่องอัดความหนาแน่นแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนการรีดให้เป็นแท่งยาว และตัดด้วยเครื่อง
– ก้อนสบู่ที่ตัดเป็นก้อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการปั้มบนแม่พิมพ์ และตีตรา เข้าสู่ขั้นตอนการบรรจุในขั้นสุดท้าย

2. การผลิตสบู่สมุนไพรภาคครัวเรือน
2.1 สารตั้งต้น
การทำสบู่ในภาคครัวเรือนนิยมผลิตสบู่ก้อนขุ่น สบู่ก้อนใส และสบู่เหลว ซึ่งจะใช้สารตั้งต้นที่แตกต่างกัน โดยสามารถสั่งชื้อได้ตามอินเตอร์เน็ตหรือร้านขายส่งสารเคมีทั่วไป
– สบู่ก้อนขุ่น ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์
– สบู่ก้อนใส ใช้สารตั้งต้น คือ กลีเซอรีนก้อน
– สบู่เหลว ใช้สารตั้งต้น คือ เกล็ดสบู่ (soap) ที่เกิดจากการใช้ด่างโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์

วิธีการเตรียมสารตั้งต้น
วัสดุ และสารเคมี:
– น้ำ 1 ลิตร
– โซเดียมไฮดรอกไซด์ 100 กรัม
– น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม 3 ลิตร

วิธีการ:
– ละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ในหม้อที่ต้มน้ำ คนให้ละลายจนหมด และตั้งทิ้งไว้ให้อุ่น
– เทน้ำมันพืชลงในหม้อ กวนให้เข้ากัน และเทใส่แม่พิมพ์หรือภาชนะอื่น
– รินน้ำ และสารละลายใสที่เป็นกลีเซอรีนส่วนบนออก
– สบู่จะนอนก้นเป็นตะกอนขาวขุ่น ซึ่งต้องตั้งทิ้งไว้ให้เย็น จนเกล็ดสบู่ (soap) จับตัวเป็นก้อน สำหรับการทำสบู่ก้อนขุ่น

2.2 สมุนไพร
สมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมทำสบู่มีมากมายหลายชนิด ซึ่งอาจประยุกต์ใช้สมุนไพรชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ยกตัวอย่าง
– มะขาม มะนาว มะกรูดให้วิตามินซี และกรด ช่วยขัดเซลล์ผิว และป้องกันเชื้อจุลินทรีย์
– เปลือกมังคุดให้วิตามินดี ลดรอยด่างดำ
– มะละกอ ให้วิตามินเอ ช่วยบำรุงผิวให้ขาว
– ว่านหางจระเข้ ให้วิตามินอีช่วยลดรอยจุดด่างดำ
– ขมิ้น ดาวเรือง ช่วยบำรุงผิว

การเตรียมสมุนไพร สามารถทำได้โดย
– การทำเป็นผง ด้วยการตากแห้ง และนำมาบดให้เป็นผงละเอียด และนำตากให้แห้งอีกครั้ง
– การสกัดเป็นสารละลาย ด้วยการบดสมุนไพรให้ละเอียด และนำมาต้มสกัดหรือนำมาแช่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ

สบู่สมุนไพรควรเติมผงสมุนไพรประมาณร้อยละ 1-5 ของน้ำหนักสบู่ และสมุนไพรที่ได้จากการต้มสกัด ควรเติมประมาณร้อยละ 5-10 ของน้ำหนักสบู่

2.3 สารเติมแต่ง
– น้ำหอม เป็นสารเติมแต่งที่นิยมเติมในการทำสบู่ สามารถใช้ได้ทั้งน้ำหอมทั่วไปหรือน้ำหอมสำหรับสบู่
– ผงสี สารลดความกระด้าง สารรักษาความชื้น สารป้องกันการหืน ซึ่งสารเหล่านี้อาจไม่ใช้ก็ได้หากไม่สะดวกที่จะหาซื้อ

2.4 ขั้นตอนการทำสบู่
– นำเกล็ดเกล็ดสบู่ใส่หม้อภาชนะ ตั้งไฟอ่อนๆให้ละลายจนหมด
– เติมสมุนไพร หากเป็นผงประมาณไม่เกิน 50 กรัม หากเป็นน้ำสกัดไม่เกิน 100 ซีซี
– เติมสารเติมแต่ง เช่น น้ำหอม ผงสี และอื่นตามที่หาซื้อได้ พร้อมคนให้ละลายเข้ากัน
– เทสารละลายสบู่ในแม่พิมพ์ และรอจนแห้งตัวก็จะได้สบู่สำหรับใช้งาน

คราวนี้เราก็สามารถทำสบู่ไว้ใช้เองที่บ้านได้แล้วใช่ไหมครับ



เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.miracle-soaps.com